วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ประวัติจังหวัดชัยภูมิ


ประวัติน่าสนใจของจังหวัดชัยภูมิ



...ประวัติจังหวัดชัยภูมิ...
          สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมืองชัยภูมิ ปรากฏในทำเนียบแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ว่าเป็นเมืองขึ้นกับ เมืองนครราชสีมาแต่ต่อมาผู้คนได้อพยพออกไปตั้งหลักแหล่งทำมาหากินที่อื่น และ พ.ศ.2360 "นายแล"ข้าราชการสำนักเจ้า อนุวงศ์เมืองเวียงจันทร์ได้อพยพครอบครัวและบริวารเดินทางข้ามลำน้ำโขง มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านหนองน้ำขุ่น (หนองอีจาน) ซึ่งอยู่ในบริเวณท้องที่อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ปัจจุบัน ปี พ.ศ. 2362 เมื่อมีคนอพยพเข้ามาอยู่มาก นายแลก็ได้ย้าย ชุมชนมาตั้งใหม่ที่บ้านโนนน้ำอ้อม บ้านชีลอง ห่างจากตัวเมืองชัยภูมิ 6 กิโลเมตร นายแลได้เก็บส่วยผ้าขาวส่งไปบรรณาการ เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์ จนได้รับบำเหน็จความชอบแต่งตั้งเป็น "ขุนภักดีชุมพล" ในปี พ.ศ. 2365 นายแลได้ย้ายชุมชนอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากที่เดิมกันดารน้ำ มาตั้งใหม่ที่บริเวณบ้านหลวง ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างหนองปลาเฒ่ากันหนองหลอด เขตอำเภอเมืองชัยภูมิ ปัจจุบัน และได้หันมาขึ้นตรงต่อเมืองนครราชสีมา และส่งส่วยทองคำถวายแด่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่ยอม ขึ้นต่อเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์อีกต่อไปจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้ายกบ้านหลวง เป็นเมืองชัยภูมิ และแต่งตั้งขุนภักดีชุมพล (แล) เป็น "พระยาภักดีชุมพล" เจ้าเมืองคนแรกต่อมาเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์ได้ก่อการกบฏ ยกทัพเข้ามาหมายจะตีกรุงเทพฯ โดย หลอกหัวเมืองต่าง ๆ ที่เดินทัพมาว่าจะมาช่วยกรุงเทพฯ รบกับอังกฤษ จนกระทั่งเจ้าอนุวงศ์สามารถยึดเมืองนครราชสีมาได้ เมื่อปี พ.ศ. 2369 ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งต่อมา เมื่อความแตกเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์ได้ กวาดต้อนชาวเมืองนครราชสีมา เพื่อนำไปยังเมืองเวียงจันทร์ เมื่อไปถึงทุ่งสัมฤทธิ์ หญิงชายชาวเมืองที่ถูกจับโดยการนำของ คุณหญิงโม ภรรยาเจ้าเมืองนครราชสีมา ได้ลุกฮือขึ้นต่อสู้ พระยาภักดีชุมพลเจ้าเมืองชัยภูมิพร้อมด้วยเจ้าเมืองใกล้เคียงได้ ยกทัพออกไปสมทบกับคุณหญิงโม ตีกระหนาบทัพเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์จนแตกพ่ายไปฝ่ายกองทัพลาวส่วนหนึ่งล่า ถอยจาก เมืองนครราชสีมาเข้ายึดเมืองชัยภูมิไว้ และเกลี้ยกล่อมให้พระยาภักดีชุมพล (แล) เข้าร่วมเป็นกบฏด้วย แต่พระยาภักดีชุม พลไม่ยอมเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์เกิดความแค้น จึงจับตัวพระยาภักดีชุมพลมาประหารชีวิตที่บริเวณใต้ต้นมะขามใหญ่ริม หนองปลาเฒ่า ซึ่งต่อมาชาวชัยภูมิได้ระลึกถึงคุณความดีที่ท่านมีความซื่อสัตย์และเสียสละ ต่อแผ่นดิน จึงได้พร้อมใจกันสร้าง ศาลขึ้น ณ บริเวณนั้น ปัจจุบันทางราชการได้สร้างศาลขึ้นใหม่เป็นศาลาทรงไทยชื่อว่า "ศาลาพระยาภักดีชุมพล (แล)" มีรูป หล่อของท่านอยู่ภายใน เป็นที่เคารพกราบไว้และถือเป็นปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งของจังหวัด ตั้งอยู่ห่างจากศาลากลาง จังหวัดชัยภูมิประมาณ 3 กิโลเมตร
                                                                                                                                                                             
...เขตการปกครอง...
          แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 16 อำเภอ
                  1. อำเภอเมืองชัยภูมิ                    9. อำเภอเทพสถิต        
                  2. อำเภอบ้านเขว้า                      10. อำเภอภักดีชุมพล
                  3. อำเภอเกษตรสมบูรณ์              11. อำเภอซับใหญ่
                  4. อำเภอหนองบัวแดง                 12. อำเภอเนินสง่า
                  5. อำเภอคอนสวรรค์                   13. อำเภอคอนสาร
                  6. อำเภอจัตุรัส                          14. อำเภอแก้งคร้อ
                  7. อำเภอบำเหน็จณรงค์                15. อำเภอบ้านแท่น
                  8. อำเภอหนองบัวระเหว               16. อำเภอภูเขียว 

...ลักษณะภูมิประเทศ... 
         ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไป ประกอบด้วยป่าไม้และภูเขาร้อยละ 50 ของพื้นที่จังหวัด นอกนั้นเป็นที่ราบสูง บริเวณ ตอนกลางของจังหวัดเป็นพื้นที่ราบ มีพื้นที่ป่าไม้และเทือกเขาตั้งเรียงรายจากทิศตะวันออกสู่ทิศตะวันตก ประกอบด้วยเทือก เขาสำคัญได้แก่ ภูอีเฒ่า ภูแลนคา และภูพังเหย 

...อาณาเขต...
          ทิศเหนือ          ติดต่อกับ  จังหวัดขอนแก่น และเพชรบูรณ์ 
          ทิศตะวันออก  ติดต่อกับ จังหวัดขอนแก่น และนครราชสีมา 
          ทิศใต้              ติดต่อกับ  จังหวัดนครราชสีมา 
          ทิศตะวันตก     ติดต่อกับ  จังหวัดลพบุรี และเพชรบูรณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น